แผงโซล่าเซลล์

10 สุดยอดแผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดีที่คุณต้องมีประจำปี 2022

พลังงานทางเลือกนั้นได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ด้วยแผงโซล่าเซลล์ที่เป็นพลังงานสะอาด และค่อนข้างเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อน ได้รับแสงอาทิตย์เป็นจำนวนมากแทบทุกพื้นที่ ทำให้มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การใช้ในครัวเรือน หรือใช้ในพื้นที่ห่างไกลที่ระบบไฟฟ้าพื้นฐานไม่สามารถเข้าได้ถึง

ลองมาดูกันว่าในปี 2022 แผงโซล่าเซลล์แบบไหนที่น่าใช้ และได้รับความนิยม

1

DEKDC Mono Poly 170W

เพียงแผงเดียวก็ให้กำลังไฟที่เพียงพอต่อการใช้งาน

สำหรับ DEKDC Mono Poly 170W เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสำหรับมาใช้เป็นพลังงานทางเลือกให้กับที่พักอาศัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีขนาดของตัวแผงที่ค่อนข้างใหญ่ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากถึง 170 W มีความทนทาน ราคาไม่สูง ดูแลรักษาได้สะดวก โดยแผงรุ่นนี้เหมาะสำหรับการติดตั้งภายนอกอาคาร หรือติดตั้งบนหลังคา โดยพลังงานที่ผลิตได้นั้นเพียงพอต่อการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปได้อย่างสบาย


2

Solar Besttech CNSDPV80M

ติดตั้งง่าย ไม่เปลืองเนื้อที่

Solar Besttech CNSDPV80M เป็นแผงโซล่าเซลล์ชนิดคริสทัลไลน์ขนาดไม่ใหญ่นัก แต่มีประสิทธิภาพสูง สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้ 80W ด้วยความที่เป็นแผงขนาดเล็กทำให้สามารถติดตั้งได้ง่าย ใช้พื้นที่น้อย แต่สามารถผลิต และจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว จุดเด่นอีกหนึ่งอย่างคือสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะมีแสงน้อยก็ตาม ทำให้เหมาะสมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่ไม่ได้ใช้ไฟปริมาณมาก เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งรุ่นที่มีคุณภาพคุ้มราคา


3

SUNTECH STP380S-72

ใช้งานยาวนาน ทนทานหายห่วง

สำหรับ SUNTECH STP380S-72 เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่เน้นในเรื่องของคุณภาพ เนื่องจากผ่านมาตรฐานการรับรองต่างๆ จากหลากหลายสถาบัน ด้วยเทคโนโลยีแบบ Twin ทำให้เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการทำงานได้ขณะที่มีแสงน้อย หรือในขณะที่ตัวแผงสกปรก สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้สูงสุด 380 W นอกจากนี้ยังมีความทนทานทำให้เหมาะกับการใช้งานในภาคเกษตรอย่างเช่นการใช้งานร่วมกับเครื่องสูบน้ำเป็นต้น


4

TREETOOLS POLY

ทำงานได้ดีแม้ในขณะที่มีแสงน้อย

TREETOOLS POLY เป็นแผงโซล่าเซลล์ระบบโพลีคริสทัลไลน์ ขนาด 1950x990x40 มิลลิเมตร ผลิตกำลังไฟได้สูงสุด 340 W เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งรุ่นที่ค่อนข้างคุ้มค่าสำหรับการนำมาใช้เป็นพลังงานทางเลือก เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ซึ่งระบบไฟฟ้าพื้นฐานเข้าไม่ถึง เนื่องจากสามารถใช้ร่วมกับแบตเตอรี่ในการเก็บพลังงานไว้ใช้ได้ กระแสไฟจากแผงสามารถไหลได้ดีเนื่องจากเซลล์มีขนาดเล็กกว่า มีความร้อนสะสมน้อยกว่า มีการรับประกันวัสดุ 10 ปี

5

SUNERGY USA SUN 330-72P

แผงโซล่าเซลล์มาตรฐานโลก มั่นใจได้ในคุณภาพ

สำหรับ SUNERGY USA SUN 330-72P เป็นแผงโซล่าเซลล์ระบบโพลีคริสทัลไลน์ขนาดใหญ่ ตัวแผงมีขนาด 1950x990x40 มิลลิเมตร สามารถผลิตกำลังไฟได้สูงสุด 330 W ข้อดีของแผงรุ่นนี้คือมาพร้อมกับการรับรองมาตรฐานจากสถาบันต่างๆ ทั่วโลก ตัวแผงมีความทนทาน ติดตั้งได้ง่าย สามารถทำงานได้ในสภาพที่มีแสงน้อย หรือมีสิ่งต่างๆ มาบังแสง ทนทานต่อการใช้งานในทุกสภาพแวดล้อม

6

Dokio DFSP-50M

แผงโซล่าเซลล์ที่สามารถพกพาไปใช้งานได้ทุกที่

Dokio DFSP-50M เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่มีความโดดเด่นในเรื่องความยืดหยุ่นของตัวแผง ที่สามารถงอได้ถึง 30 องศา และมีน้ำหนักเพียง 1.1 กิโลกรัมเท่านั้น ทำให้การพกพาไปยังสถานที่ต่างๆ ได้สะดวกแผงแบบเดิมๆ ที่ไม่สามารถงอ หรือยืดหยุ่นได้ ซึ่งแผงล่าเซลล์รุ่นนี้สามารถผลิตกำลังไฟได้ 50 W จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกระแสไฟเป็นจำนวนมาก แต่ถ้าสำหรับการชาร์จโทรศัพท์มือถือ หรือชาร์จแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ต่างๆ นั้นเรียกได้ว่ามีกำลังไฟพอ

7

TORQUE Polycrytaline

มั่นใจได้เรื่องความทนทานรับประกันไฟออกนาน 25 ปี

สำหรับ TORQUE Polycrytaline เป็นแผงโซล่าเซลล์ระบบโพลีคริสทัลไลน์ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้กำลังสูงสุดที่ 300 W มาพร้อมกับเทคโนโลยี Twin ซึ่งทำให้แผงรุ่นนี้เหมาะกับการใช้งานในประเทศไทยที่มีฝุ่นเยอะ สามารถทำงานได้ดีถึงแม้ว่าจะมีแสงน้อย นอกจากนี้ยังให้ความมั่นใจในเรื่องของคุณภาพด้วยการรับประกันวัสดุ 10 ปี และรับประกันไฟออกนานถึง 25 ปี

8

GENIUS 390 W MONO

ผลิตจากซิลิคอนคุณภาพสูง เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน

GENIUS 390 W MONO เป็นแผงโซล่าเซลล์ระบบโมโนคริสทัลไลน์ขนาดใหญ่ ตัวแผงมีขนาด 1950x990x40 ม.ม. น้ำหนัก 23 กิโลกรัม ผลิตมาจากซิลิคอนคุณภาพสูง ทำให้สามารถผลิตกำลังไฟสูงสุดได้มากถึง 390 W นอกจากนี้ยังเหมาะสมกับการใช้งานในบ้านเราด้วยความทนทานต่อทุกสภาพอากาศ และทำงานได้แม้แต่สภาพที่มีแสงน้อย หรือแสงถูกบดบังด้วยเทคโนโลยี Twin เรียกได้ว่าลงทุนเพียงครั้งเดียวสามารถใช้งานได้เป็นระยะเวลานาน

9

KANTO KT-MONO-SP360W

ผลิตกระแสไฟได้ในทุกสภาวะ พร้อมมาตรฐาน IP66

สำหรับ KANTO KT-MONO-SP360W เป็นแผงโซล่าเซลล์ระบบโมโนคริสทัลไลน์ขนาดใหญ่ ตัวแผงมีขนาด 1956x992x40 ม.ม. สามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด 340 W เหมาะสำหรับการใช้งานทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งบนหลังคาเพื่อใช้งานร่วมกับไฟบ้าน หรือใช้ใน Solar Farm จุดเด่นอีกหนึ่งอย่างของแผงรุ่นนี้คือความทนทานมาตรฐาน IP66 ที่รับประกันได้ว่าตัวแผงจะใช้งานได้อย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเผชิญกับแสงแดด น้ำ หรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง 

10

BlueTech Polycrystalline Half Cell Solar Panel

ขนาดใหญ่จุใจ ให้พลังงานไฟฟ้าได้เต็มที่

BlueTech Polycrystalline Half Cell Solar Panel เป็นแผงโวล่าเซลล์ที่เป็นระบบโพลีคริสทัลไลน์ แบบ Half Cell Solar Panel ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 485 W ตัวแผงมีขนาด 210 x 99.2 x 4 เซนติเมตร ทำให้แผงรุ่นนี้เหมาะกับบ้านพักอาศัยที่ค่อนข้างมีพื้นที่พอสมควร หรือจะเป็นการทำ Solar Farm ก็สามารถใช้ได้ โดยพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้นั้นสามารถจะส่งต่อไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าได้หลากหลายชนิด

วิธีการเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์

  • เลือกจากความต้องการในการใช้งาน การติดตั้งโซล่าเซลล์นั้นเกิดขึ้นจากหลายวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นความต้องการที่จะประหยัดพลังงานในครัวเรือนโดยนำพลังงานที่ได้มาใช้ร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่างๆ ความต้องการที่จะใช้พลังงานไฟฟ้าในสถานที่ซึ่งระบบไฟฟ้าพื้นฐานไม่สามารถเข้าถึง เช่นสถานที่ห่างไกล หรือความต้องการใช้พลังงานจากโซลาเซลล์เพื่อช่วยในการทำการเกษตร เป็นต้น ดังนั้นการเลือกใช้โซล่าเซลล์แต่ละประเภทควรเลือกให้ตรงกับความต้องการในการใช้งานให้มากที่สุดนั่นเอง 
  • เลือกจากปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ โซล่าเซลล์แต่ละประเภทนั้นมีความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้แตกต่างกันตามขนาด และประเภทของโซล่าเซลล์นั่นเอง ดังนั้นก่อนที่จะติดตั้งโซล่าเซลล์ควรคำนวณก่อนว่าต้องการกำลังไฟฟ้าที่จะใช้ปริมาณสูงสุดเป็นจำนวนเท่ามากขนาดไหน แล้วจึงเลือกโซล่าเซลล์ไปติดตั้งเพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้ไฟฟ้าที่ได้คำนวณไว้แล้วนั่นเอง 
  • เลือกจากสถานที่ติดตั้ง แผงโซล่าเซลล์แต่ละรุ่น แต่ละแบรนด์นั้นมีการออกแบบในเรื่องการติดตั้งที่แตกต่างกัน บางรุ่นอาจเหมาะกับการติดตั้งบนหลังคาบ้าน บางรุ่นเหมาะกับการติดตั้งในที่โล่งนอกตัวบ้าน ซึ่งธรรมชาติของแผงโซล่าเซลล์นั้นต้องติดตั้งในบริเวณที่สามารถรับแสงแดดได้มาที่สุดของวัน ดังนั้นการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จึงต้องดูในเรื่องของพื้นที่ด้วย อย่างเช่นถ้ามีพื้นที่กว้างก็สามารถติดตั้งแผงขนาดใหญ่ได้ แต่ถ้ามีพื้นที่ขนาดเล็ก หรือเป็นอาคาซึ่งไม่มีพื้นที่มากนักก็ต้องเลือกติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ขนาดเล็กนั่นเอง 
  • เลือกจากราคา อย่างที่ทราบกันว่าแผงโซล่าเซลล์ในปัจจุบันนั้นมีให้เลือกเยอะมาก ทำให้มีระดับราคาแตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นการเลือกใช้งานแผงโซล่าเซลล์ต้องนอกจากพิจารณาปัจจัยอื่นๆ แล้วเรื่องของราคาก็ต้องพิจารณาด้วยเช่นกัน การเลือกราคาที่เหมาะสมกับการใช้งานจะช่วยให้สามารถประหยัดเงินในการติดตั้งโซล่าเซลล์ได้มากพอสมควรเลยทีเดียว

คำถามที่พบบ่อยของกล้องวงจรปิดไร้สาย

สำหรับการแบ่งประเภทของแผงโซล่าเซลล์ตามวิธีการผลิตนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ โพลีคริสทัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) และ โมโนคริสทัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) โดยแผงโซล่าเซลล์ทั้ง 2 ประเภทนี้มีความแตกต่างกันดังนี้

  • โพลีคริสทัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่ผลิตจากผลึกซิลิคอนที่ถูกนำมาหลอมละลาย จากนั้นนำมาทำให้เข้ารูป และตัดออกมาเป็นแผ่นบาง ทำให้แต่ละเซลล์นั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตัวแผงจะมีสีน้ำเงินอ่อน ซึ่งแผงโซล่าเซลล์แบบโพลีคริสทัลไลน์มีจุดเด่นคือกระบวนการผลิตไม่ยุ่งยาก ทำให้มีราคาไม่สูง สามารถใช้งานได้ในพื้นที่ซึ่งมีอุณหภูมิสูง 
  • โมโนคริสทัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) เป็นแผงโซลล่าเซลล์อีกหนึ่งประเภทที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมากเช่นกัน ซึ่งกรรมวิธีการผลิตเริ่มจากการนำซิลิคอนเชิงเดี่ยวมาผ่านหลากหลายขั้นตอนสำหรับกานผลิต ไม่ว่าจะเป็นการดึงผลึก (Czochralski) เพื่อให้ผลึกรวมอยู่ที่แกนกลางออกมาเป็นแท่งทรงกระบอก นำมาตัดให้เป็นแผ่น พร้อมตัดลบมุมออก 4 มุม ซึ่งการตัดลบมุมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ให้สูงขึ้น ทำให้แผงโซล่าเซลล์ประเภทนี้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าแบบโพลีคริสทัลไลน์ ผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า ถึงแม้สภาพอากาศไม่เป็นใจก็สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ใช้พื้นที่น้อยกว่า

ระบบการทำงานของโซล่าเซลล์ที่จะทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ ระบบออนกริด (On Grid System) และระบบออฟกริด (Off Grid System) โดยระบบการทำงานทั้งสองประเภทนั้นมีความแตกต่างกันดังนี้

  • ระบบออนกริด (On Grid System) เป็นการทำงานของระบบโซลล่าเซลล์ที่จะส่งต่อพลังงานเข้ากับระบบไฟฟ้าตามปกติภายในบ้าน โดยพลังงานที่ได้จะถูกส่งเข้าไปยัง Grid Tie Inverter เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้จากโซล่าเซลล์ให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้ตามบ้านนั่นเอง ระบบนี้จะไม่มีแบตเตอรี่เพื่อเก็บไฟไว้ 
  • ระบบออฟกริด (Off Grid System) เป็นระบบที่เมื่อโซลล่าเซลล์ผลิตพลังงานได้แล้วจะถูกส่งเข้าไปชาร์จเก็บไว้ในแบตเตอรี่ จากนั้นจึงจะถูกส่งไปแปลงกระแสจากกระแสตรงให้กลายเป็นกระแสสลับเพื่อใช้งานร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบไฟภายในบ้าน ทำให้ระบบนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ซึ่งระบบไฟฟ้าพื้นฐานไม่สามารถเข้าถึงได้ แต่ก็จะต้องใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่มากขึ้นตามไปด้วย

Scroll to Top